Tuesday, June 10, 2014

โรคกระเพาะอาหาร: ตอนที่ 2/4 สาเหตุและอาการของโรคกระเพาะอาหาร

            ปวดท้องจัง.... เราจะรู้ได้ไงว่าเราเริ่มเป็น หรือกำลังจะเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร จุดสังเกตุอย่างแรกคือ ปวดท้องแบบแสบๆร้อนๆบริเวณลิ้นปี่ หรือบางคนอาจปวดท้องสัมพันธ์กับการทานอาหาร เช่น ปวดท้องเวลาท้องว่าง ปวดท้องหลังจากทานอาหาร หรือบางคนปวดท้องกลางดึก จุดสังเกตุที่สองคือ อาการจุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ เรอลม แสบร้อนท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ คลื่นไส้อาเจียน ซึ่งอาการเบื้องต้นที่กล่าวมานี้ มักจะเป็นบ่อยๆ และจะเป็นบ่อยขึ้นเรื่อยๆหากมีการสะสมและไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ถูกวิธี จุดสังเกตุอย่างสุดท้าย ได้แก่โรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น อาเจียนเป็นสีดำ ถ่ายออกมาเป็นสีดำ ซึ่งหากแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ทะลุ อาจปวดท้องอย่างรุนแรงจนถึงขั้นช๊อค หมดสติ และเสียชีวิตได้

            สาเหตุหลักที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคกระเพาะมี 3 สาเหตุได้แก่
1.  เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อ เฮลิแบคเตอร์ ไพโลรี (Helibacter pylori) ซึ่งเชื้อตัวนี้สามารถทนสภาวะความเป็นกรดได้ และเชื้อแบคทีเรียตัวนี้ก็เป็นสาเหตุสำคัญของผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหาร เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียจะฝังตัวที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้และทำลายเยื่อบุจนทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ในที่สุด

     2. เกิดจากภาวะที่กระเพาะหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหารมากกว่าปกติ ซึ่งมีปัจจัยมาจากพฤติกรรมการทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟีนหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์บ่อยเกินไป เนื่องจากคาเฟอีนและแอลกอฮอลล์มีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย หรือภาวะเครียดและวิตกกังวล รวมไปถึงการสูบบุหรี่จัด และการทานอาหารไม่ตรงเวลา ส่งผลให้การทำงานของระบบย่อยอาหารผิดเพี้ยนไป

        3. การใช้ยาแก้ปวด NSAIDS และ Aspirin, ยาปฏิชีวนะ, ยาประเภทฮอร์โมนเช่น อินซูลิน, ยาที่ทานเพื่อลดระดับน้ำตาล, ยาที่มีฤทธิ์ต่อหัวใจ และหลอดเลือด, โพแทสเซี่ยม, ยาที่มีผลต่อกล้ามเนื้อกระดูก และยาขยายหลอดลม ซึ่งยาที่กล่าวมานี้ เป็นยาเคมีสังเคราะห์ที่มีความเข้มข้นสูง

บางคนอาจมีอาการท้องอืดหรือแน่นท้องหลังจากทานข้าวเป็นครั้งคราว ส่วนใหญ่มักเป็นเมื่อทานอาหารเร็วเกินไป หรือทานอาหารมากเกินไป พฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลให้กลไลการทำงานของระบบทางเดินอาหารรวน เช่น การบีบตัวของกระเพาะอาหารเพื่อดันอาหารลงสู่ลำไส้เล็กนานผิดปกติ (Delay gastric emptying time), การคลายตัวของกระเพาะอาหารส่วนต้นหลังรับประทานอาหารทำให้น้อยกว่าปกติ ส่งผลให้แรงดันในกระเพาะอาหารสูงขึ้น จนเกิดลม (Impaired gastric accommodation), การรับรู้ของกระเพาะอาหารที่ไวกว่าปกติ (Hypersensitivity to gastric distention) ซึ่งกลไกที่ผิดปกติเหล่านี้ หากเป็นบ่อยๆสะสมนานๆเข้าก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารได้

เรียบเรียงข้อมูลโดย www.reddiamondherb.com
ข้อมูลอ้างอิง: Sriphat Medical Center, รพ. Samitivej

No comments:

Post a Comment