Monday, December 1, 2014

โรคกรดไหลย้อน: ตอนที่ 2/4 ระดับความรุนแรงและจุดสังเกตของโรคกรดไหลย้อน


     อาการเริ่มต้นของคนที่กำลังจะเป็นโรคกรดไหลย้อนคือ อาการท้องอืด แน่นท้องบ่อยๆ รวมถึงอาการเหมือนมีอะไรมาจุกที่คอ ไม่สามารถกินอาหารได้ หลังจากนั้นอาจมีอาการแสบร้อนกลางอก ขมในปาก ซึ่งเราสามารถแบ่งระดับความรุนแรงได้เป็น 3 ระดับ คือ

ระดับที่ 1: มีภาวะกรดไหลย้อนขึ้นเป็นบางครั้ง อาจมีอาการแสบกลางอกเล็กน้อย แล้วก็หายไป สามารถเป็นได้ทุกคน เช่น เวลาไปทานอาหารมื้อหนัก หรือทานข้าวเร็วเกินไป ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร แต่หากเป็นบ่อยๆ ก็อาจเข้าสู่ระดับที่ 2 ได้

ระดับที่ 2: ภาวะหูรูดหลอดอาหารเริ่มอักเสบและหย่อน ทำให้น้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร (เรียกว่า กรดไหลย้อนภายใน) ทำให้รู้สึกแสบร้อนกลางอก จุกแน่นหน้าอกมาก เนื่องจากหลอดอาหารไม่มีเมือกป้องกันน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ทำให้ระคายเคืองและเป็นแผลได้

จากรูป ซ้ายสุด คือการย่อยอาหารปกติ กล้ามเนื้อหูรูดจะทำหน้าที่เหมือนประตู ที่เปิดให้อาหารลงสู่หลอดอาหารและปิดเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำย่อยในกระเพาะย้อนกลับ
รูปกลาง เมื่อน้ำย่อยกัดกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารมากๆ ทำให้เกิดการอักเสบและน้ำย่อยไหลย้อนกลับ
รูปขวา เมื่อกระเพาะอาหารขยายตัวมากๆ จะทำให้กระบังลมขยายตัวและกระเพาะอาหารถูกบีบขึ้นไป ส่งผลในน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลกลับได้ง่ายมากขึ้น

ระดับที่ 3: มีกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมากจนทำให้เกิดภาวะเรื้อรัง ซึ่งอาจลามไปถึงหลอดลมและกล่องเสียง (เรียกว่า กรดไหลย้อนภายนอก) ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง มีรสขมในปาก หากเป็นเรื้อรังมากๆ หากเกิดอาการอาเจียนเป็นเลือดได้

  
            หากเราลองมาวิเคราะห์สาเหตุของโรคกรดไหลย้อนนั้น สามารถแบ่งออกมาได้ 2 สาเหตุหลักๆคือ
1. ภาวะกระเพาะอาหารไม่ย่อย - หลายๆคนอาจคุ้นเคย และเจอปัญหานี่บ่อย อาหารไม่ย่อย คืออาการท้องอืด แน่นท้องหลังทานข้าว บางคนเหมือนมีอะไรมาจุกที่คอทั้งๆที่ไม่ได้กินอะไรเข้าไป ซึ่งอาการดังกล่าวนี้เกิดจากระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เพราะกระเพาะอาหารทำงานหนักเกินไป ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการเคี้ยวข้าวเร็ว เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ดื่มน้ำสลับกับทานข้าวบ่อยๆ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้กระเพาะอาหารต้องรับภาระหนัก ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร ซึ่งแก๊สเหล่านี้ก็คือตัวการที่ทำให้เกิดอาหารท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นท้องนั่นเอง

2. พฤติกรรมหลังทานข้าวที่ผิด - หลายๆคนชอบนอนพักหลังทานข้าวเสร็จใหม่ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้น้ำย่อยไหลย้อนกลับขึ้นมาตามแรงโน้มถ่วง เพราะหลังทานข้าว กระเพาะอาหารจะหลั่งน้ำย่อยออกมาเพื่อย่อยอาหาร ซึ่งหากเราไปเอนตัวนอน ก็จะทำให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลขึ้นมากัดบริเวณกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารจนเกิดการอักเสบได้ในที่สุด

 ที่มารูป http://www.drugs.com/health-guide/gastroesophageal-reflux-disease-gerd.html

Wednesday, October 8, 2014

โรคกรดไหลย้อน: ตอนที่ 1/4 รู้ทันโรคกรดไหลย้อน


       โรคกรดไหลย้อน เป็นหนึ่งในโรคระบบทางเดินอาหารที่พบมากในประเทศไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ทำงานในเมืองหลวง เพราะวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ต้องทำงานเร่งรีบแข่งกับเวลา บางคนทานอาหารไม่มีเวลาทานข้าว บางคนทานอาหารไม่ตรงเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งทานตอนกลางคืนแล้วรีบนอน หลายๆคนเลือกทานอาหารประเภทจานด่วนแต่ก็ไม่ใช่ทางออกที่ดีนัก เพราะนอกจากจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอแล้ว ยังต้องเร่งทานให้เสร็จทันเวลาอีกด้วย

       ภาวะกรดไหลย้อน เป็นภาวะที่น้ำกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหารเป็นเวลานานทำให้หลอดอาหารหรือหลอดลมระคายเคืองและอักเสบ ซึ่งคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อน อาจมีอาการของโรคกระเพาะอาหาร หรือเป็นแผลในกระเพาะอาหารร่วมด้วยหรืออาจไม่มีอาการของโรคกระเพาะอาหารก็ได้


       ในตอนหน้า เราจะพูดถึงสาเหตุและอาการบ่งชี้หลักๆของโรคกรดไหลย้อนว่าเกิดจากอะไร มีอาการแบบไหน ติดตามกันได้ในตอนต่อไปค่ะ


เรียบเรียงข้อมูลโดย www.reddiamondherb.com

Friday, July 18, 2014

มึงป่วยเพราะโง่.... โดย สมคิด ลวางกูร


เจอเภสัชกรคนหนึ่ง...หน้าตากวนตีนมาก...
อายุน้อยกว่าผม...แต่กวนตีนมากกว่าผม...

ซื้อยาแก้กรดไหลย้อนครับ...
เอาเกรดไหน...มี 3 เกรด...ถูก...กลาง...แพง...
คุณภาพยา...ขึ้นกับราคา...ว่าไง...?
มันถามแล้วมองหน้าผมแบบกวนตีน...

ผมกวนตีนกลับ...เอาเกรดไหนก็ได้...ที่กินแล้วหายน่ะ...
ไม่มี...โรคนี้....ยาไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้...
ถ้าคุณรักษาด้วยยา...คุณจะต้องกินยาไปตลอดชีวิต...

ผมหันไปจ้องหน้ามัน...เพราะสะดุดคำว่า...
ถ้าคุณรักษาด้วยยา...คุณจะต้องกินยาไปตลอดชีวิต...
ผมถามว่า...มันมีวิธีรักษาด้วยวิธีอื่นหรือ...?
มันค่อยๆชายตามามองผมด้วยสายตาดูถูก...อย่างรุนแรง...
แล้วพูดโดยไม่มองหน้าคนฟังว่า...

คนที่เป็นโรคกรดไหลย้อน...เกิดจากนิสัยชั่ว 5 อย่าง...
1. กินข้าวไม่ตรงเวลา...
2. กินอาหารรสจัดมาก...โดยเฉพาะเผ็ดจัด...
3. กินมากเกินไป...
4. กินแล้ว...เข้านอนทันที...
5. เครียดตลอดเวลา...
ถ้าอยากหาย...ไปเปลี่ยนนิสัย...ไม่ต้องกินยา...

ผมกัดฟันแน่น...จ้องหน้ามัน...ทำไมมึงถึงกวนตีนยังงี้วะ...?
ผมคิดในใจ... แล้วค่อยๆเปิดประตู...เดินออกจากร้านไป...

10 วัน...ผ่านไป...ผมไปบรรยายหลายงาน...หลายจังหวัด...
คืนหนึ่งกลับเข้าบ้าน...ดึกแล้ว...
ผ่านร้านขายยา...ไฟยังไม่ปิด...ผมรีบจอดรถ...เดินเข้าไปในร้าน...
เจอไอ้เภสัชกวนตีน...คนเดิมเต็มๆ...มันหันมาเห็นผม...
อ้าว...เป็นไง...โรคกรดไหลย้อน...?

ผมปรี่เข้าประชิดตัว...แล้วยกมือ...พนม...พร้อมก้มหัว...
ขอบพระคุณมากครับ...หายแล้วครับ...
พูดได้แค่นั้น...แล้วก็จุกที่คอ...พูดอะไรต่อไม่ได้อีก...
แล้วรีบเดินออกจากร้าน...
เป็นครั้งแรกในชีวิต...ที่ผมยกมือไหว้คนขายยา...ที่อายุน้อยกว่าผมมาก...

ผมพูดอะไรไม่ออก...แต่ผมเชื่อว่า...ไอ้เภสัชหนุ่มนี่มันรู้...ว่าผมจะพูดอะไร...?
มันสามารถสูบเงินจากผมได้เป็นหมื่น...และทำกำไรมหาศาล...แต่มันไม่ทำ...
มันเลือกที่จะช่วยผม...ให้หายป่วย...โดยไม่ได้เงินสักบาท...

การดำเนินชีวิตของผมตอนนี้...
- กินข้าวตรงเวลา...ทุกมื้อ...
- กินอาหารจืด...ไม่กินรสจัด...เผ็ดจัด...
- กินแค่จานเดียว...เลิก...ไม่ว่าจะอร่อยแค่ไหนก็ตาม...
- มื้อสุดท้าย...กินก่อน 6 โมงเย็น...แล้วไม่กินอะไรอีกเลย...
ไม่ว่าจะนอนดึกแค่ไหนก็ตาม...
- อารมณ์ดีตลอด...ยิ้ม...หัวเราะ...ทำตัวให้มีความสุขทั้งวัน...
ผลที่เกิดตามมาคือ...
- พุงผมหายไป...ไม่มีหน้าท้อง...ไม่อึดอัด...
- สุขภาพดีขึ้น...ไม่เป็นโรคอ้วน...
- บุคลิกภาพดีขึ้น...ความมั่นใจเพิ่มขึ้น...เวลาเข้าสังคม...
- หายใจสะดวก...ไม่แน่นท้องเหมือนก่อน...
- ไม่ง่วงนอน...ไม่อ่อนเพลียเวลาทำงาน...เหมือนก่อน...
- การทำงานและการเคลื่อนไหวร่างกาย...คล่องตัวขึ้น...
ที่สำคัญคือ...
ชีวิตผม...มีความสุขขึ้น...เยอะเลย...

นี่แหละคือเหตุผลที่ผมต้องไหว้...
และผมจะไหว้ไอ้เวรนี่ตลอดชีวิต...ไม่ว่ากูจะเจอมึงที่ไหน...

สิ่งมีค่าที่สุดที่มันมอบให้ผมก็คือ...
โรคภัยไข้เจ็บ...90 %...ของมึงเนี่ย...ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค...
แต่เกิดจากเชื้อเลว...ในการดำเนินชีวิตของมึงทั้งนั้น...

ดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง...ตามธรรมชาติ...มีสุขนิสัยที่ดี...
คุณจะไม่ป่วย...ไม่เป็นโรค...ไม่ต้องไปหาหมอ...
หมอและยา...เขามีไว้รักษาและขาย...ให้คนที่โง่...เท่านั้น...

เลิกโง่กันเถอะเพื่อน...
เพื่อนรุ่นน้องของผมหายไปนานมาก...เกือบปี...
ผมคิดถึง...อยากรู้ข่าวคราว...จึงโทรไปหา...นัดกินข้าว...

เพื่อนเล่าให้ฟังว่า...หลังจากรักษาจนหายแล้ว...
เจ้านายเก่ารู้ว่า...กลับมาจากต่างประเทศแล้ว...หายแล้ว...
ก็ชวนกลับไปทำงานที่เดิม...เงินเดือน 6 หลัก...มันยากที่จะปฏิเสธ...

ทำอยู่ได้ 6-7 เดือน...อาการกลับมาเป็นเหมือนเดิมอีก...
และเที่ยวนี้...ดูว่ามันรุนแรงกว่าเดิมมาก...

หลังจากวันนั้น...ผมก็ไม่ได้ข่าวคราวจากเพื่อนคนนี้อีกเลย...

ส่วนผม...ทำตัวตามที่ไอ้หมอตี๋กวนตีนนั่นบอก...
เปลี่ยนเอานิสัยเลวๆในการดำเนินชีวิตออก...
โรคกรดไหลย้อน...ไม่มีอาการ...โรคซึมเศร้าดีขึ้น...จนเริ่มเขียนหนังสือได้...
โรคเครียดเบาบางลงมาก...ยิ้ม...หัวเราะ...มีความสุขกับการทำงานเกือบทั้งวัน...

คุณภาพชีวิตที่ดีๆของผม...กลับคืนมาแล้ว...เยอะมากด้วย...
จึงอยากจะถือโอกาสนี้...บอกกับเพื่อนๆทุกคนว่า...
เลิกโง่กันเถอะเพื่อน...



Thursday, July 17, 2014

โรคกระเพาะอาหาร: ตอนที่ 4/4 รักษาแผลในกระเพาะอาหารด้วยตำรับสมุนไพร

            ปัจจุบัน แพทย์ทางเลือกเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในวงการสุขภาพทั่วโลก เนื่องจากเทคโนโลยี และงานวิจัยที่กว้างขวางมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในแพทย์ทางเลือกที่เป็นภูมิปัญญาของไทยคือ การใช้สมุนไพรไทยในการรักษาโรคต่างๆ อีกทั้งการรักษาด้วยสมุนไพร สามารถรักษาอาการได้ถึงต้นเหตุ นอกจากนี้การทานยาแผนปัจจุบันซึ่งเป็นยาเคมีสังเคราะห์เป็นเวลานานๆติดต่อกัน ส่งผลเสียต่อตับโดยตรงซึ่งเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมทุกวันนี้คนจึงหันมาบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพและมองหาแพทย์ทางเลือกมากขึ้น

            สำหรับผู้ที่กำลังมองหาสมุนไพรที่ช่วยรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร ขอแนะนำ ยาขับลมตราเพชรแดง ซึ่งเป็นตำรับยาสมุนไพรแคปซูล จากสมุนไพร 4 ชนิดคือ กระเพราแดง ขิงแก่ ตะไคร้ และเปล้าตะวัน โดยสมุนไพรตำรับนี้ นอกจากจะช่วยขับลม บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อแล้ว หากทานต่อเนื่องเป็นประจำ จะช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร สร้างเนื้อเยื่อในส่วนที่ถูกทำลาย รวมถึงปรับสมดุลให้กับระบบทางเดินอาหาร รบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่ายอีกด้วย ซึ่งหากต้องการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ยาขับลมตราเพชรแดง สามารถเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.reddiamondherb.com/product/ya-kub-lom/


            ท้ายสุดนี้ การรักษาที่ดีที่สุดเริ่มต้นจากตัวเรา ดังสุภาษิตที่ว่าหมอที่ดีที่สุด ก็คือตัวเรา หากเราไม่ปรับพฤติกรรมการทานอาหารหรือพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ไม่ว่ายาดีขนาดไหนหรือราคาแพงเท่าใด ก็ไม่อาจทำให้เราหายจากอาการโรคภัยไข้เจ็บได้ สำหรับผู้ที่ไม่อยากให้มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร แค่เราทานอาหารให้ตรงเวลา ทานอาหารครบทุกมื้อ และทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพียงเท่านี้เราก็จะได้มีสุขภาพดีง่ายๆไม่ต้องพึ่งอาหารเสริมใดๆ



เรียบเรียงข้อมูลโดย www.reddiamondherb.com

Wednesday, July 9, 2014

โรคกระเพาะอาหาร: ตอนที่ 3/4 การวินิจฉัยโรคกระเพาะอาหาร

เราสามารถสังเกตุอาการเบื้องต้นได้ด้วยตนเองจากการดูจากอาการปวดท้อง เนื่องจากอาการปวดท้องนั่นบ่งบอกได้หลายอาการ ไม่ว่าจะเป็น โรคกระเพาะอาหาร ปวดท้องจากอาหารเป็นพิษ



ตำแหน่ง หรือบริเวณที่เริ่มปวด: เช่น บริเวณลิ้นปี่ รอบๆ สะดือ หน้าท้องส่วนบน ใต้ชายโครงขวา หรือซ้าย ท้องน้อยตรงกลาง เหนือหัวเหน่า หรือท้องน้อยขวา หรือซ้าย และเมื่อเวลาผ่านไปอาการปวดเปลี่ยนหรือ ย้ายที่หรือไม่
-          
                       - ปวดท้องมานานเท่าไร / ความถี่ในการปวดท้อง: ภายในไม่กี่ชั่วโมง 2-3 วัน หรือเป็นเรื้อรังมานาน

-                   - ลักษณะของอาการปวดเป็นแบบใด: ปวดเป็นพักๆ เดี๋ยวปวดมากเดี๋ยวเบาลง หรือปวดตลอดเวลา ไม่มีหยุดพักเลย และปวดแบบแสบร้อน ปวดเหมือนถูกแทง ปวดตื้อๆ หรือปวดถ่วงๆ เป็นต้น

-                   - มีอาการอื่นที่เกิดร่วมด้วยหรือไม่: เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนท้องผูก ท้องเสีย เป็นไข้ เหงื่อแตก หน้ามืดเป็นลม

-                - สาเหตุที่ทำให้ปวดมากขึ้นคืออะไร: เช่น การอาหาร การถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ การหายใจแรงๆ ไอหรือจาม การเคลื่อนไหว ท่านั่งหรือท่านอน

-                   - สาเหตุที่ทำให้ปวดน้อยลงคืออะไร: เช่น อาเจียนแล้วดีขึ้น การอยู่นิ่งๆ ไม่เคลื่อนไหวท่านั่งหรือท่านอน การงอตัว อาหาร หรือยาบางชนิดเช่น ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร

อย่างไรก็ตาม หากพบว่าปวดจนทนไม่ไหว หรือไม่แน่ใจอาการ หรือปวดท้องที่คงอยู่นานกว่า 4 ชั่วโมง ควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม ทั้งนี้เนื่องจากแผลในกระเพาะอาหาร เกิดจากการสะสมมาเป็นเวลานาน บางรายอาจไม่ออกอาการ บางรายอาจมีแค่รอยแผลแดงๆ และบางรายอาจมีอาการแพ้ ซึ่งการวินิจฉัยโรคแผลในกระเพาะอาหารมี 2 วิธีหลักๆคือ

1.       การเอ็กซเรย์กลืนแป้ง (Upper GI Study) ซึ่งแป้งที่ว่านี้คือ สารทึบรังสี (Barium Salfate) ซึ่งหากตรวจกระเพาะหรือลำไส้เล็ก จะต้องดื่มด้วยหลอดดูด เมื่อกลืนจนได้ปริมาณจึงตรวจด้วยการเอ็กซเรย์ แต่หากตรวจลำไส้ใหญ่ จะใช้วิธีสวนสารทึบรังสีเข้าทางทวารหนัก ซึ่งสารนี้ก็จะถูกขับถ่ายออกทางทวารหนักตามปกติ (ไม่ได้ละลายหายไปหรือดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย) แต่เนื่องจากสารนี้อาจทำให้ท้องผูกได้ ผู้ตรวจจึงควรดื่มน้ำมากๆ รับประทานผักผลไม้มากๆ เพื่อให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น วิธีนี้ทำได้ง่าย ราคาถูก แต่ข้อเสียคือไม่ละเอียดพอและไม่สามารถนำชื้นเนื้อไปตรวจเพิ่มเติมได้
2.       การ ส่องกล้องกระเพาะอาหาร (Gastroscopy) เป็นวิธีการตรวจที่ละเอียดสามารถมองเห็นรายละเอียดของกระเพาะอาหารได้ชัดเจน และยังสามารถนำเนื้อเยื่อไปตรวจเพิ่มเติมได้ ปัจจุบันการส่องกล้องกระเพาะอาหารเป็นวิธีที่นิยมและทำได้อย่างปลอดภัย ในผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้ยานอนหลับร่วมด้วย
3.       การตรวจเชื้อ Helicobactor Pylori ซึ่งมีหลายวิธี เช่น การตรวจเลือดหาภูมิคุ้มกันติดเชื้อ, การนำเนื้อเยื่อมาตรวจหาเชื้อ แต่วิธีที่สะดวก แม่นยำและรวดเร็ว และนิยมใช้ในปัจจุบันคือ การเป่าลมหายใจหรือที่เรียกว่า Urea Breath test C-14

ข้อมูลอ้างอิง: รพ. Samitivej, Siamca.com, Z Beauty and Health, รพ.รามคำแหง
เรียบเรียงข้อมูลโดย www.reddiamondherb.com

Tuesday, June 10, 2014

โรคกระเพาะอาหาร: ตอนที่ 2/4 สาเหตุและอาการของโรคกระเพาะอาหาร

            ปวดท้องจัง.... เราจะรู้ได้ไงว่าเราเริ่มเป็น หรือกำลังจะเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร จุดสังเกตุอย่างแรกคือ ปวดท้องแบบแสบๆร้อนๆบริเวณลิ้นปี่ หรือบางคนอาจปวดท้องสัมพันธ์กับการทานอาหาร เช่น ปวดท้องเวลาท้องว่าง ปวดท้องหลังจากทานอาหาร หรือบางคนปวดท้องกลางดึก จุดสังเกตุที่สองคือ อาการจุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ เรอลม แสบร้อนท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ คลื่นไส้อาเจียน ซึ่งอาการเบื้องต้นที่กล่าวมานี้ มักจะเป็นบ่อยๆ และจะเป็นบ่อยขึ้นเรื่อยๆหากมีการสะสมและไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ถูกวิธี จุดสังเกตุอย่างสุดท้าย ได้แก่โรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น อาเจียนเป็นสีดำ ถ่ายออกมาเป็นสีดำ ซึ่งหากแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ทะลุ อาจปวดท้องอย่างรุนแรงจนถึงขั้นช๊อค หมดสติ และเสียชีวิตได้

            สาเหตุหลักที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคกระเพาะมี 3 สาเหตุได้แก่
1.  เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อ เฮลิแบคเตอร์ ไพโลรี (Helibacter pylori) ซึ่งเชื้อตัวนี้สามารถทนสภาวะความเป็นกรดได้ และเชื้อแบคทีเรียตัวนี้ก็เป็นสาเหตุสำคัญของผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหาร เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียจะฝังตัวที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้และทำลายเยื่อบุจนทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ในที่สุด

     2. เกิดจากภาวะที่กระเพาะหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหารมากกว่าปกติ ซึ่งมีปัจจัยมาจากพฤติกรรมการทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟีนหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์บ่อยเกินไป เนื่องจากคาเฟอีนและแอลกอฮอลล์มีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย หรือภาวะเครียดและวิตกกังวล รวมไปถึงการสูบบุหรี่จัด และการทานอาหารไม่ตรงเวลา ส่งผลให้การทำงานของระบบย่อยอาหารผิดเพี้ยนไป

        3. การใช้ยาแก้ปวด NSAIDS และ Aspirin, ยาปฏิชีวนะ, ยาประเภทฮอร์โมนเช่น อินซูลิน, ยาที่ทานเพื่อลดระดับน้ำตาล, ยาที่มีฤทธิ์ต่อหัวใจ และหลอดเลือด, โพแทสเซี่ยม, ยาที่มีผลต่อกล้ามเนื้อกระดูก และยาขยายหลอดลม ซึ่งยาที่กล่าวมานี้ เป็นยาเคมีสังเคราะห์ที่มีความเข้มข้นสูง

บางคนอาจมีอาการท้องอืดหรือแน่นท้องหลังจากทานข้าวเป็นครั้งคราว ส่วนใหญ่มักเป็นเมื่อทานอาหารเร็วเกินไป หรือทานอาหารมากเกินไป พฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลให้กลไลการทำงานของระบบทางเดินอาหารรวน เช่น การบีบตัวของกระเพาะอาหารเพื่อดันอาหารลงสู่ลำไส้เล็กนานผิดปกติ (Delay gastric emptying time), การคลายตัวของกระเพาะอาหารส่วนต้นหลังรับประทานอาหารทำให้น้อยกว่าปกติ ส่งผลให้แรงดันในกระเพาะอาหารสูงขึ้น จนเกิดลม (Impaired gastric accommodation), การรับรู้ของกระเพาะอาหารที่ไวกว่าปกติ (Hypersensitivity to gastric distention) ซึ่งกลไกที่ผิดปกติเหล่านี้ หากเป็นบ่อยๆสะสมนานๆเข้าก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารได้

เรียบเรียงข้อมูลโดย www.reddiamondherb.com
ข้อมูลอ้างอิง: Sriphat Medical Center, รพ. Samitivej

Thursday, June 5, 2014

โรคกระเพาะอาหาร: ตอนที่ 1/4 รู้จักกับโรคกระเพาะอาหาร

     คนวัยทำงานกว่า 80% ในปัจจุบัน ใช้เวลาเป็นชั่วโมงไปกับการเดินทางไปทำงาน ปัญหารถติด ชั่วโมงเร่งด่วน งานเยอะจนแทบไม่มีเวลาพักผ่อน ทำให้ชีวิตคนเมืองต้องเลือกตัดกิจกรรมบางอย่างออกไป เชื่อหรือไม่ว่า 2 กิจกรรมที่มนุษย์เลือกตัดออกคือ การทานอาหารเช้าและการออกกำลังกาย! ซึ่งทุกคนต่างก็รู้ว่าทั้ง 2 กิจกรรมนี้ เป็นยาวิเศษที่ช่วยป้องกันจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งปวง และเมื่อพฤติกรรมเปลี่ยนไป เราจึงพบกับนานาโรคเช่นทุกวันนี้ และหนึ่งในโรคยอดฮิตคือ โรคกระเพาะอาหาร 

     โรคกระเพาะอาหาร โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้ 2 ภาวะคือ 
1.  อาการปวดท้องกระเพาะอาหาร (dyspepsia) ซึ่งหมายถึงอาการปวดหรือไม่สบายที่เกิดขึ้นจากกระเพาะอาหารหรือลำไส้ เช่น อาการปวดหรือแสบลิ้นปี่ อาการแน่นท้องหลังทานอาหาร และอาการอิ่มเร็วกว่าปกติ 

 2. โรคแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งแผลที่เยื่อบุกระเพาะอาหารหรือแผลในลำไส้ โดยอาจจะมีอาการปวดจุกแน่นท้องหรืออาจไม่มีก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเป็นมากหรือน้อยและมีแผลบริเวณใด ถ้าเป็นแผลบริเวณเยื่อบุกระเพาะเรียกว่า Gastritis ถ้าเป็นแผลที่กระเพาะอาหารเรียกว่า Gastric Ulcer หรือหากเป็นแผลที่ลำไส้เล็กจะเรียกว่า Duodenal Ulcer แต่เนื่องจากอาการเจ็บปวดและสาเหตุที่เกิดค่อนข้างคล้ายคลึงกัน จึงมักเรียกรวมๆกันว่า เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcer) นั่นเอง 


     ในตอนหน้า เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุและอาการของโรคกระเพาะอาหารว่ามีอะไรบ้าง สามารถติดตามได้เร็วๆนี้ค่ะ  


เรียบเรียงข้อมูลโดย www.reddiamondherb.com

Thursday, May 15, 2014

WELCOME TO REDDIAMOND BLOG

สวัสดีค่ะทุกท่าน

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณและยินดีต้อนรับสู่ Blog REDDIAMOND HERB นะคะ หลายๆคนคงรู้จักพวกเรากับ 'สมุนไพรตราเพชรแดง' ซึ่งมีความโดดเด่นจากการใช้สมุนไพรเปล้าตะวัน สมุนไพรไทยพันธุ์ใหม่ต้นกำเนิดจากจังหวัดตราด ผสมผสานกับสมุนไพรไทยฟื้นบ้านอื่นๆจนกลายเป็นตำรับสมุนไพรแคปซูล

สำหรับ Blog นี้ เรามีจุดประสงค์หลักในการแชร์ นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารในเชิงฟื้นฐานและเชิงลึก ไม่ว่าจะเป็น โรคกระเพาะ โรคกรดไหลย้อน โรคริดสีดวงทวาร ฯลฯ รวมถึงการแนะนำวิธีหลีกเลี่ยงและป้องกันโรคดังกล่าว เป็นต้น

สำหรับผู้ที่อยากรู้จักเราเพิ่มเติม หรืออยากทราบว่าสินค้าเราเกี่ยวกับอะไร สมุนไพรเปล้าตะวันคืออะไร ท่านสามารถเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราได้เลยค่ะที่ http://www.reddiamondherb.com นอกจากนี้ เรายังมี fanpage ของ facebook ที่คอบ update เคล็ดลับสุขภาพทั่วๆไปสำหรับผู้ที่รักและดูแลสุขภาพด้วยค่ะ ที่https://www.facebook.com/ReddiamondHerb

สุดท้ายนี้ หวังว่าผู้ติดตามทุกท่านคงได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของระบบทางเดินอาหารมากขึ้น รวมถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารไม่มากก็น้อยนะคะ

ขอบคุณค่ะ
#ReddiamondHerb






http://www.reddiamondherb.com