โรคกระเพาะอาหาร: ตอนที่ 3/4 การวินิจฉัยโรคกระเพาะอาหาร
เราสามารถสังเกตุอาการเบื้องต้นได้ด้วยตนเองจากการดูจากอาการปวดท้อง
เนื่องจากอาการปวดท้องนั่นบ่งบอกได้หลายอาการ ไม่ว่าจะเป็น โรคกระเพาะอาหาร
ปวดท้องจากอาหารเป็นพิษ
- ตำแหน่ง
หรือบริเวณที่เริ่มปวด:
เช่น บริเวณลิ้นปี่ รอบๆ สะดือ หน้าท้องส่วนบน ใต้ชายโครงขวา หรือซ้าย
ท้องน้อยตรงกลาง เหนือหัวเหน่า หรือท้องน้อยขวา หรือซ้าย
และเมื่อเวลาผ่านไปอาการปวดเปลี่ยนหรือ ย้ายที่หรือไม่
-
- ปวดท้องมานานเท่าไร / ความถี่ในการปวดท้อง: ภายในไม่กี่ชั่วโมง 2-3 วัน หรือเป็นเรื้อรังมานาน
- - ลักษณะของอาการปวดเป็นแบบใด: ปวดเป็นพักๆ เดี๋ยวปวดมากเดี๋ยวเบาลง หรือปวดตลอดเวลา ไม่มีหยุดพักเลย
และปวดแบบแสบร้อน ปวดเหมือนถูกแทง ปวดตื้อๆ หรือปวดถ่วงๆ เป็นต้น
- - มีอาการอื่นที่เกิดร่วมด้วยหรือไม่: เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้
อาเจียนท้องผูก ท้องเสีย เป็นไข้ เหงื่อแตก หน้ามืดเป็นลม
- - สาเหตุที่ทำให้ปวดมากขึ้นคืออะไร: เช่น การอาหาร การถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ
การหายใจแรงๆ ไอหรือจาม การเคลื่อนไหว ท่านั่งหรือท่านอน
- - สาเหตุที่ทำให้ปวดน้อยลงคืออะไร: เช่น อาเจียนแล้วดีขึ้น
การอยู่นิ่งๆ ไม่เคลื่อนไหวท่านั่งหรือท่านอน การงอตัว อาหาร หรือยาบางชนิดเช่น
ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
อย่างไรก็ตาม หากพบว่าปวดจนทนไม่ไหว หรือไม่แน่ใจอาการ
หรือปวดท้องที่คงอยู่นานกว่า 4 ชั่วโมง ควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม ทั้งนี้เนื่องจากแผลในกระเพาะอาหาร
เกิดจากการสะสมมาเป็นเวลานาน บางรายอาจไม่ออกอาการ บางรายอาจมีแค่รอยแผลแดงๆ
และบางรายอาจมีอาการแพ้ ซึ่งการวินิจฉัยโรคแผลในกระเพาะอาหารมี 2 วิธีหลักๆคือ
1.
การเอ็กซเรย์กลืนแป้ง
(Upper GI Study) ซึ่งแป้งที่ว่านี้คือ สารทึบรังสี
(Barium Salfate) ซึ่งหากตรวจกระเพาะหรือลำไส้เล็ก
จะต้องดื่มด้วยหลอดดูด เมื่อกลืนจนได้ปริมาณจึงตรวจด้วยการเอ็กซเรย์
แต่หากตรวจลำไส้ใหญ่ จะใช้วิธีสวนสารทึบรังสีเข้าทางทวารหนัก ซึ่งสารนี้ก็จะถูกขับถ่ายออกทางทวารหนักตามปกติ (ไม่ได้ละลายหายไปหรือดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย) แต่เนื่องจากสารนี้อาจทำให้ท้องผูกได้ ผู้ตรวจจึงควรดื่มน้ำมากๆ
รับประทานผักผลไม้มากๆ เพื่อให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น วิธีนี้ทำได้ง่าย
ราคาถูก แต่ข้อเสียคือไม่ละเอียดพอและไม่สามารถนำชื้นเนื้อไปตรวจเพิ่มเติมได้
2.
การ ส่องกล้องกระเพาะอาหาร (Gastroscopy) เป็นวิธีการตรวจที่ละเอียดสามารถมองเห็นรายละเอียดของกระเพาะอาหารได้ชัดเจน
และยังสามารถนำเนื้อเยื่อไปตรวจเพิ่มเติมได้ ปัจจุบันการส่องกล้องกระเพาะอาหารเป็นวิธีที่นิยมและทำได้อย่างปลอดภัย
ในผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้ยานอนหลับร่วมด้วย
3.
การตรวจเชื้อ Helicobactor Pylori
ซึ่งมีหลายวิธี เช่น การตรวจเลือดหาภูมิคุ้มกันติดเชื้อ, การนำเนื้อเยื่อมาตรวจหาเชื้อ
แต่วิธีที่สะดวก แม่นยำและรวดเร็ว และนิยมใช้ในปัจจุบันคือ การเป่าลมหายใจหรือที่เรียกว่า Urea Breath
test C-14
ข้อมูลอ้างอิง: รพ. Samitivej, Siamca.com, Z Beauty and
Health, รพ.รามคำแหง